Blog

ประวัติย่อศาสตราจารย์ระพี สาคริก ที่เกี่ยวกับงานกล้วยไม้

ประวัติย่อศาสตราจารย์ระพี สาคริก ที่เกี่ยวกับงานกล้วยไม้ ศาสตราจารย์ระพี สาคริก เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2465 เป็นบุคคลที่มีนิสัยรักธรรมชาติ รักการศึกษาและเรียนรู้ รักการคิด และสนใจต่อชีวิตที่มีการต่อสู้กับปัญหาต่างๆ อย่างอิสระเสรีมาตั้งแต่ชีวิตยังเยาว์วัยมาก จากการที่ได้แสดงออกมาตั้งแต่เล็ก ถึงความฝังจิตฝังใจและผลการเรียนที่สูงมากทางด้านวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ และการประดิษฐ์คิดค้นเช่น เครื่องบินเล็ก เครื่องส่งวิทยุ และเครื่องมือจัดรูปภาพ ซึ่งในยุคนั้นมิใช่สิ่งแพร่หลายนักสำหรับเด็กไทย ในด้านศิลปะในสมัยนั้นยังเด็ก ก็ได้แสดงออกถึงความมีจิตวิญญาณด้านนี้อยู่ในอุปนิสัยใจคอ มีความรักธรรมชาติ รักต้นไม้ รักสัตว์เลี้ยง รักการเขียนภาพ ถ่ายภาพ และรักการดนตรี ดังเช่นการเล่นไวโอลินมาตั้งแต่อายุเพียง 9 ขวบ และมีผลงานการแต่งเพลงอยู่ในวงดนตรีสุนทราภรณ์และเค.ยูแบนด์ด้วย สิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งก็คือ เป็นผู้ที่มีอุปนิสัยสุภาพอ่อนโยน มีความเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์มาตั้งแต่เด็ก จนเป็นที่รักของบรรดาเพื่อนๆ ที่รู้จักมาโดยตลอด เมื่อมีภาวะความขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างเพื่อนๆ ที่อยู่กันเป็นจำนวนมากมักได้รับการขอร้องให้เป็นผู้ประสานรอยร้าวเสมอๆ กล้วยไม้เป็นสิ่งหนึ่งซึ่งศาสตราจารย์ระพี สาคริก ได้แสดงออกถึงความรักความสนใจมาตั้งแต่อายุได้เพียง 10 กว่าขวบปี และการดำเนินชีวิตที่สัมพันธ์อยู่กับสิ่งที่รักที่สนใจอย่างจริงจัง ที่ทำให้พบกับความคิดแคบและความมีใจแคบของคนในสังคมได้เป็นแรงผลักดันอย่างสำคัญที่ทำให้ ศาสตราจารย์ระพี สาคริก ต่อสู้กับสิ่งที่สวนทางกับความคิดความเชื่อของตนเองอย่างทุ่มเทให้ด้วยชีวิตและจิตใจ ท่ามกลางภาพที่สะท้อนให้ ศาสตราจารย์ระพี สาคริก เห็นว่า […]

DETAIL

เข้าป่าหากล้วยไม้ครั้งแรกในชีวิต

โดย ศาสตราจารย์ระพี สาคริก ……………………………………………………………………… บทนำ จากชีวิตในช่วงที่ยังเป็นเด็กเล็กๆมาจนถึงวัยกว่า 15 ขวบ สิ่งซึ่งตนเองได้รับการถ่ายทอดจากพ่อ ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่า พ่อต้องการเลี้ยงลูกให้เรียนรู้สัจธรรมจากความลำบาก และ การต่อสู้ด้วยลำแข้งตัวเองมาโดยตลอด ถึงกับบางครั้งได้ยินคำปรารภจากญาติผู้ใหญ่ที่กล่าวว่า คุณพระฯ. เลี้ยงลูกให้รู้จักความลำบาก เช่นเดียวกับที่ตัวเองเคยเผชิญมาแล้ว ภาพของกล้วยไม้พื้นบ้าน 5 – 6 กระเช้า ซึ่งปลูกใส่กระเช้าไม้สักแขวนทิ้งไว้บนราวกลางแดดกลางฝน โดยที่อาศัยร่มเงาชายคาเล็กๆน้อยๆหน้าเรือนไม้ชั้นเดียว อันเป็นที่อยู่อาศัยของพ่อ – แม่ และผม ซึ่งตัวเองไม่เพียงเดินผ่านไปมาวันละหลายๆเที่ยว แต่ยังมีใจจดจ่ออยากรู้อยากเห็นว่ามันเป็นกล้วยไม้อะไร ยิ่งไปกว่านั้น ความรู้สึกลึกๆแล้วยังสร้างภาพเป็นจินตนาการที่เชื่อมโยงไปถึง ภาพอันสวยสดงดงาม ที่ช่วยให้เกิดความรู้สึกมีชีวิตชีวา ของกล้วยไม้ซึ่งกำลังออกดอกสะพรั่งอยู่ท่ามกลางบรรยากาศของป่าอย่างเป็นธรรมชาติ ยังมีอีกสิ่งหนึ่ง ซึ่งผมและน้องๆได้รับการฝึกฝนมาจากพ่อคือ ความรัก ความสนใจ ในการใช้ชีวิตนอนกลางดินกินกลางป่า และฝึกให้ลูกๆรู้จักการยิงปืน ตลอดจนถึงการรักษาปืน พ่อมีปืนลูกซองแฝดอยู่กระบอกหนึ่ง เป็นปืนซึ่งสั่งซื้อมาจากยุโรปเป็นพิเศษ ก่อนการสั่งซื้อได้มีการวัดความยาวช่วงแขนของพ่อและส่งข้อมูลไปประกอบการทำช่วงพานท้ายปืนกระบอกนี้ให้มีขนาดและความยาวอย่างสอดคล้องกัน ที่ด้านนอกของโก่งไกปืนมีลายเซ็นของพ่อสลักไว้อย่างสวยงาม กับอีกกระบอกหนึ่งคือปืนยาวอัดลมเบอร์ 2 ซึ่งปืนกระบอกนี้ได้มีการดัดแปลงกลไกที่อยู่ภายในไว้เป็นพิเศษ กล่าวคือ อัดเอาสปริงลูกสูบเข้าไว้ถึงสองท่อน ให้มีแรงอัดลมเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของปืนอัดลมธรรมดา สำหรับปืนลูกซองนั้นภายในซองกระสุนจะบรรจุกระสุนไว้มากน้อยแล้วแต่ลักษณะของเป้าที่ต้องการจะยิง ถ้ายิงสัตว์ขนาดกลางก็มักใช้เบอร์ 9 […]

DETAIL

ประวัติชีวิตและงาน

ประวัติชีวิตและงาน ——-ศาสตราจารย์ระพี สาคริก เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม 2466 ณ ตำบลวรจักร อำเภอป้อมปราบ กรุงเทพฯ. เป็นบุตรคนโตของ ขุนตำรวจเอก พระมหาเทพกษัตรสมุท (เนื่อง สาคริก) ข้าราชการในราชสำนักของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 ดำรงตำแหน่งเจ้ากรมพระตำรวจหลวง ในราชสำนักพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ คุณแม่สนิท ภมรสูต สมรสกับ นางสาวกัลยา มนตริวัต บุตร พลตำรวจตรีขุนพิชัยมนตรี อดีตหัวหน้าเสรีไทยค่ายกาญจนบุรี และรองอธิบดีตำรวจฝ่ายปราบปราม การศึกษา ——-พ.ศ. 2469 เริ่มการศึกษาประถมศึกษาที่โรงเรียนสามเสนวิทยาคาร แล้วย้ายโรงเรียนเรื่อยมาอย่างหลากหลายไม่ต่ำกว่า 8 แห่ง ทั้งโรงเรียนใหญ่และโรงเรียนเล็ก ——-พ.ศ. 2480 ระหว่างเรียนอยู่ชั้นมัธยม 7 กระทรวงศึกษาธิการปรับหลักสูตรมัธยมบริบูรณ์จาก ม. 8 มาเป็น ม. 6 โดยตัดเอา ม. 7 และ ม. 8 […]

DETAIL

ประสบการณ์จากงานประชุมกล้วยไม้โลกของข้าพเจ้า

บทนำ ตั้งแต่เล็กแต่น้อยจนกระทั่งเติบใหญ่ ผมโตขึ้นมาจากรากฐานความเป็นตัวของตัวเองค่อนข้างชัดเจนมาก ทั้งๆ ที่เกิดการดงวัตถุในกรุงเทพฯ และเกิดจากครอบครัวซึ่งมีหัวหน้ารับใช้ใกล้ชิดอยู่กับด้านบน แต่วิถีความคิดตนกลับมุ่งความรักลงสู่ด้านล่าง รวมทั้งชีวิตเพื่อนมนุษย์ซึ่งเติบโตตามมาภายหลัง ผมไม่เคยสนใจที่จะตะเกียกตะกายขึ้นไปเรียนมหาวิทยาลัยเช่นหลายๆ คน และไม่สนใจที่จะวิ่งเข้าไปสมัครงานเพื่อรับใช้ราชการ หากมุ่งทำงานตามแนวคิดซึ่งตนมีอยู่ในรากฐานตัวเองอย่างมีความสุขมาโดยตลอด ส่วนการที่วิถีชีวิตถูกกำหนดให้ต้องเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยก็ดี เสร็จแล้วออกไปทำงานแล้วยังถูกกำหนดให้ต้องเข้าไปอยู่ในระบบราชการก็ดี ล้วนเป็นเรื่องซึ่งเข้ามาหาเองทั้งสิ้น จึงช่วยให้ตนสามารถรักษาธรรมชาติในตัวเองไว้ได้อย่างชัดเจนตลอดมา อนึ่ง การริเริ่มสร้างงานกล้วยไม้ ระหว่างช่วงแรกๆ ประมาณปี พ.ศ. 2490 หลังจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยใหม่ๆ แม้ว่าอาจทำให้รู้สึกโดดเดี่ยว อีกทั้งยังถูกรุมบีบคั้นจากคนกลุ่มเก่าซึ่งมีความเห็นแก่ตัว นำกล้วยไม้มาเป็นของเล่นและใช้เป็นเครื่องมือดูถูกเพื่อนมนุษย์ระดับล่าง รวมทั้งเยาวชนคนรุ่นหลัง แต่ตนก็มีสมาธิแข็งแกร่งพอที่จะยืนอยู่ท่ามกลางกระแสดังกล่าวได้อย่างมั่นคง และมุ่งปฏิบัติจากแนวคิดของตัวเอง รวมทั้งนำปัญหาต่างๆ ที่พบ มาวิเคราะห์ค้นหาเหตุผล จนกระทั่งความรู้สึกโดดเดี่ยวคลี่คลายลงไปและได้รับความชื่นชมยินดีกว้างขวางมากขึ้น ผมยังจำได้ดีว่า การมุ่งมั่นทำงานจากรากฐานที่ละลดภาวะยึดติด ได้ช่วยให้ตนมองเห็นทางออกตามที่ปรารถนาตลอดมาโดยไม่มีสิ่งใดจะปิดกั้นไว้ได้ แม้ในช่วงนั้นตนจะถูกมองจากคนในด้านราชการว่า กำลังยุคนให้ปลูกกล้วยไม้ซึ่งเป็นวัชพืชทำลายเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง แม้กระทั่งผู้บริหารองค์กรต่างประเทศซึ่งเข้ามาช่วยงานมหาวิทยาลัยเกษตรเปรียบเทียบกล้วยไม้เสมือนเป็น แดนดี ไลออน (Dandy Lion) ซึ่งเป็นวัชพืชชนิดหนึ่งซึ่งขึ้นระบาดอยู่ในไร่นาของสหรัฐอเมริกาอย่างกว้างขวาง จนเป็นที่รังเกียจของเกษตรกรที่นั่น ผมกับภรรยาได้ร่วมกันทำงานเพื่อสร้างบ้านหลังเล็กๆ ขึ้นหลังหนึ่ง บนพื้นที่ดินภายในซอยพิชัยมนตรี (ซอย41) ถนนพหลโยธิน ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มากนัก โดยที่ ช่วงนั้นยังมีสภาพทั่วๆ เป็นพื้นนาปลูกข้าว และไม่ลืมว่าจะต้องสร้างเรือนกล้วยไม้ไว้ใช้งานศึกษาค้นคว้าหาความรู้ตามความคิดของตนซึ่งใฝ่ฝันมานานแล้ว […]

DETAIL

ประสบการณ์ชีวิต จากการเข้าไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี

บทนำ แรงบันดาลใจที่ทำให้ผู้เขียนเรื่องนี้นำหัวข้อนี้มาเขียน เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองยุคนี้ หากแต่ละคนไม่เห็นแก่ตัวจนเกิดไปช่วยให้สามารถมองย้อนกลับทิศทางได้อย่างอิสระ จากปัญหาซึ่งนับวันจะมีความรุนแรงยิ่งขึ้น อีกทั้งส่งผลทำลายความมั่นคงที่พื้นฐานของสังคมไทยได้ชัดเจน โดยเฉพาะผู้ที่มีภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งยังหลงเหลืออยู่ในสังคม จากความรู้สึกรับผิดชอบและห่วงใย ทำให้ค้นหาเหตุและผลจากรากฐานซึ่งเป็นความจริง เพื่อนำมาวิเคาระห์ว่า ปัญหาซึ่งยังลึกอยู่ในรากฐานคนในสังคม มีผลสืบเนื่องมาจากสิ่งใด ทั้งนี้และทั้งนั้น เพราะเหตุว่าคนลักษณะนี้มีจิตสำนึกซึ่งตัวเองมีส่วนร่วมในการปฏิบัติเพื่อทำหน้าที่แก้ไข อีกทั้งนำมาเป็นความรู้ใส่ใจตัวเอง ไว้เพื่อความเจริญทางสติปัญญาร่วมด้วย ทั้งนี้และทั้งนั้นหากมองย้อนกลับไปสู่อดีต เริ่มต้นจากยุคประวัติศาสตร์ของชาติไทย ซึ่งถูกชนชาติตะวันตกพยายามเข้ามายึดครองแผ่นดินท้องถิ่น ซึ่งไม่เพียงแต่ของประเทศไทย ซึ่งแต่ก่อนมีชื่อว่าประเทศสยามเท่านั้น แม้แต่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเขตร้อนของทวีปเอเชีย รวมทั้งทวีปอื่นของโลก ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วมีทรัพยากรซึ่งมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ที่อุดมสมบูรณ์อย่างหลากหลาย ซึ่งท้องถิ่นในเขตตะวันตกเลยไปถึงขั้วโลกเหนือและใต้ ไม่มีทางเลือกได้อย่างกว้างขวางเช่นแถบดังกล่าว ประเทศในแถบนี้ ได้ถูกชนชาติตะวันตกใช้กำลังทางเทคโนโลยีและอาวุธ ซึ่งตนเป็นฝ่ายคิดค้นซึ่งมีอิทธิพลเหนือกว่าเข้ามาบุกรุกถือครองอย่างกว้างขวาง แม้ประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ซึ่งเป็นเขตร้อนรวมถึงประเทศไทย เราจะเห็นความจริงว่าประเทศในแหลมมลายู เลยไปถึงหมู่เกาะชวาและฟิลิปปินส์ก็ได้ถูกยึดครองเอาไว้หมด ดังจะพบจากบันทึกทางประวัติศาสตร์ได้ว่า กลุ่มบุคคลจากประเทศตะวันตกได้ส่งคนเข้ามาเข้ามาสำรวจทรัพยากรต่างๆ เป็นการล่วงหน้า ดังจะพบหลักฐานได้จากหนังสือตำราต่างๆ ซึ่งเขียนเป็นภาษาต่างประเทศโดยคนกลุ่มนั้น ซึ่งนำเข้ามาเผยแพร่ในกระบวนการจัดการศึกษาจนถึงทุกวันนี้ หลังจากนั้นจึงส่งกำลังคนและอาวุธมาทางเรือ เพื่อเข้ายึดครองแผ่นดินท้องถิ่น หากจะว่าประเทศในเขตร้อนรู้ทันก็ได้ หรือรู้เท่าทันก็ได้ หากรู้ทันแต่ใช้อารมป้องกันด้วยความรุนแรงก็จะนำไปสู่การสู้รบ ส่วนประเทศที่รู้ทันอีกทั้งรู้ได้ว่ากำลังของฝ่ายตนสู้ไม่ได้ ก็ยอมเจรจาประนีประนอมเช่นประเทศไทยเป็นต้น กลุ่มประเทศที่มาจากถิ่นอื่นมักอ้างว่า ต้องการส่งคนเข้ามาเจริญสัมพันธ์ไมตรี โดยมีการนำผลิตผลทางเทคโนโลยีซึ่งฝ่ายตนเป็นผู้พัฒนาก้าวไกลไปก่อนมามอบให้ซึ่งการเผยแพร่วัฒนธรรมท้องถิ่นของตนแฝงมาด้วย ประเทศไทยถูกอิทธิพลดังกล่าวด้วยเช่นกัน อาศัยนโยบายผู้ปกครองประเทศไม่เห็นสมควรให้เกิดความรุนแรงทำให้เสียชีวิตและเลือดเนื้อจึงยอมผ่อนปรน หลังจากนั้นอีกฝ่ายหนึ่งก็ได้นำอิทธิพลผลิตผลสำเร็จรูปจากเทคโนโลยีซึ่งมีผลเปลี่ยนแปลงความเชื่อของคนท้องถิ่นให้รู้สึกว่าของเขาเจริญก้าวหน้ากว่า เข้ามาเป็นของกำนัลหรือที่เรียกกันว่าบรรณาการ […]

DETAIL

สกุลสาคริก

สกุลสาคริก สกุลสาคริกเป็นนามสกุลขุนนางเก่าสกุลหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระมง-กุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯพระราชทาน และเรื่องราวความเป็นมาของบรรพชนในสกุลนี้ก็มีความน่าสนใจ และทายาทของคนในสกุลรุ่นปัจจุบันก็ได้สร้างคุณงามความความดีแก่สังคมไทยไม่น้อย ดังเช่นศาสตราจารย์ระพี สาคริก นักคิด นักปรัชญาคนสำคัญของสังคมไทยท่านหนึ่ง ซึ่งท่านก็ได้กรุณาเล่าถึงความเป็นมาของสกุลว่า “ตามที่คุณพ่อของผม พระมหาเทพกษัตรสมุห (เนื่อง สาคริก) ได้ค้นคว้าและบันทึกไว้คือ ตอนตั้งกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์นั้น ผู้ก่อตั้งก็คือคนดีกลุ่มหนึ่งที่มาจากกรุงศรีอยุธยา กระทั่งสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่1 ทรงปราบปรามศึกสงครามจนค่อยสงบแล้ว จึงได้ทรงแต่งตั้งให้พี่น้องสามคนชาวบางช้างที่มีความดีความชอบในราชการสงครามเป็นเจ้าเมือง โดยพี่ชายคนใหญ่เป็นเจ้าเมืองสาครบุรี ต่อมาเป็นสมุทรสาคร ท่านผู้นี้เป็นบรรพบุรุษต้นตระกูล สาคริก พี่ชายคนกลางเป็นเจ้าเมืองสมุทรสงคราม ท่านเป็นบรรพบุรุษต้นตระกูล ณ บางช้าง และน้องคนเล็กเป็นเจ้าเมืองสงขลา เป็นบรรพบุรุษต้นตระกูล ณ สงขลา “ค่ำว่า สาคริก มีความหมายว่า เป็นชาวเมืองสาคร และเหตุที่มิได้ใช้คำว่า ณ สาคร เนื่องจากในหลวงรัชกาลที่ 6 องค์ผู้พระราชทานนามสกุลให้สกุลเรานั้น รับสั่งแก่คุณลุงพระยาบริหารราชมานพ (เนียน สาคริก) ซึ่งเป็นผู้ขอพระราชทานว่า ‘ความจริงเจ้าก็ควรจะใช้นามสกุลว่า ณ สาคร แต่เมื่อข้าได้ให้ใช้สาคริกไปแล้วก็เห็นว่าเก๋ดีเหมือนกัน อย่าน้อยใจเลย’ ทรงอธิบายว่า ทรงนำคำ ‘สาคร’ จากชื่อเมือง […]

DETAIL

ประสบการณ์ชีวิต วิถีชีวิตที่เป็นสัจธรรม

จากผู้เขียน ชีวิตฉันผ่านพ้นมา 82 ปีเต็มแล้ว หวนกลับไปทบทวนสู่อดีต ทำให้คิดอะไรได้หลายอย่าง ดังนั้นจึงตั้งใจที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ค้นหาความจริง อีกทั้งตัวเองขณะที่เขียนยังจำเป็นต้องค้นหาความจริงจากใจร่วมไปด้วย จึงควรถือได้ว่าเป็นประโยชน์ทั้งสองด้าน ฉันหวนกลับไปนึกถึงช่วงเวลาเมื่อประมาณ 20 ปีที่ผ่านมาแล้ว ขณะนั้นทราบข่าวว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะจัดงานที่ระลึกให้อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากร ซึ่งอดีตเคยเป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยดังกล่าว และมีผลงานเป็นที่ประทับใจคนจำนวนมาก ช่วงนั้นอยู่มาวันหนึ่งมีนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มาขอพบปรึกษาหารือเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ กับฉัน ฉันจึงเห็นเป็นโอกาสดีที่จะได้เรียนรู้ความคิดของชนรุ่นหลังร่วมไปด้วย นักศึกษากลุ่มนี้ได้เข้ามาหาพร้อมกับตั้งคำถามๆว่า การศึกษาประวัติชีวิตคน จำเป็นด้วยหรือที่จะต้องเอาเฉพาะคนที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ? ฉันตอบทันที่ว่าเขาคงถามคนที่เป็นครูบาอาจารย์ในมหาวิทยาลัยมาแล้ว แต่ยังไม่ได้รับคำตอบอันเป็นที่น่าพอใจ จึงเข้ามาหาเพื่อต้องการคำตอบที่ชัดเจนมากกว่านั้น ฉันนำคำถามดังกล่าวมาคิดวิเคราะห์ค้นหาเหตุผล จากใจที่พยายามทำให้เป็นกลางมากที่สุด และก็ได้คำตอบออกมาตอบเขาว่า ชีวิตทุกคนเป็นสัจธรรม ไม่ว่ายากดีมีจน อีกทั้งมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของสังคม หรือเป็นโจรผู้ร้าย ถ้ารู้จักค้นหาความจริงควรถือว่าเป็นความรู้ที่มีคุณค่าทั้งสิ้น ดังนั้น ถ้าจะศึกษาชีวิตของผู้ที่สังคมยอมรับ น่าจะมีวัตถุประสงค์อย่างเดียว คือ นำเอาสิ่งที่ดีงามมาเป็นแบบอย่าง แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่สังคมรังเกียจจะไม่ใช่สิ่งที่ควรสนใจศึกษาหาความรู้ ไม่เช่นนั้นแล้วเราจะเป็นคนเลือกที่รักมักที่ชัง ซึ่งเป็นผลเสียหายแก่ตัวเองมากกว่า จากคำตอบดังกล่าวดูเหมือนว่าหลายคนที่เข้ามาพบแสดงความพอใจว่า เป็นความคิดที่มีความเป็นธรรมชาติเป็นพื้นฐาน อนึ่งในช่วงปี พ.ศ. 2539 มีทีมงานจากนิตยสาร “สารคดี” ได้เข้ามาหาโดยแจ้งว่า มีโครงการจะจัดพิมพ์หนังสือประวัติชีวิตบุคคลเพื่อเป็นแง่คิดที่เป็นประโยชน์แก่การศึกษาของชนรุ่นหลัง และคัดบุคคลไว้แล้วจำนวน 5 คน […]

DETAIL

ประสบการณ์ด้านอื่นๆ ระพี สาคริก

มีเหตุทำให้ต้องเปลี่ยนโรงเรียนใหม่อีกครั้ง ก่อนถึงช่วงปิดภาคเรียนใหม่ก็มีข่าวใหญ่เกิดขึ้นทำให้ทราบว่า โรงเรียนราชบุรีวิทยาลัยแตกออกเป็นสามส่วน ทั้งนี้และทั้งนั้นเนื่องจาก เสือสามตัวซึ่งเป็นอาจารย์ด้านคำนวณและวิทยาศาสตร์ชั้นหัวกระทิของโรงเรียนนายร้อย และร่วมกันเป็นเจ้าของเกิดการแตกแยก เนื่องจากโรงเรียนนี้เติบโตอย่างรวดเร็วทั้งในด้านการเรียนและกีฬา เช่นฟุตบอลซึ่งชิงยอดเยี่ยมประจำปีกับโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และบวรนิเวศน์เป็นประจำ พอถึงกำหนดเปิดภาคต้นปีการศึกษาใหม่ซึ่งตนจะต้องขึ้นชั้นมัธยม 7 ก็ปรากฏว่า จากโรงเรียนเดิมได้แยกตัวออกไปเป็น 3 แห่ง แห่งหนึ่งอยู่ที่ในบริเวณวังบูรพาซึ่งเรียนชื่อกันว่า โรงเรียนวังบูรพาวิทยาลัย แห่งที่สองอยู่ในบริเวณวังเทเวศน์ มีชื่อว่า เทเวศน์วิทยาลัย และโรงเรียนซึ่งอยู่ที่เดิม แต่เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น โรงเรียนรพีพัฒน์วิทยาลัย ซึ่งตนเลือกเรียนอยู่ในโรงเรียนเดิมและได้ขึ้นชั้นมัธยม 7 ตอนที่ 4 มีนักเรียนภายในห้องนี้ประมาณ 70 กว่าคน แสดงให้เห็นว่า แม้จะแยกออกไปอีกสองแห่ง จำนวนนักเรียนทั้งหมดคงไม่ลดลงไปมากนัก ห้องที่ผมเรียนประจำอยู่บนตึกหลังใหญ่แต่ชั้นล่างด้านทิศตะวันตก มีบางชั่วโมงเปลี่ยนห้องเรียน เช่นวิชาภาษาอังกฤษ ลงมานั่งเรียนอยู่ในห้องซึ่งเป็นอาคารชั่วคราวชั้นเดียว ฟื้นอยู่ในระดับเดียวกับพื้นดิน วิชานี้มีครูซึ่งไม่ได้สอนประจำโรงเรียนมาสอนชื่อ ครูแสน ธรรมยศ ท่านผู้นี้เป็นนักเขียนซึ่งมีชื่อเสียงในสมัยนั้นภายใต้นามปากกา ส.ธรรมยศ ช่วงหลังๆ มาได้ทราบว่า เป็นคนต่อสู้ให้นำเอาวิชา ปรัชญา เข้าไปสอนในมหาวิทยาลัยจนเป็นผลสำเร็จ ในช่วงนั้นผมไม่คิดว่าครูคนนี้จะรู้จักผมเป็นส่วนตัวเพราะเหตุว่า นักเรียนในห้องมีจำนวน แอบไปสมัครสอบเรียนเป็นนักบิน ช่วงชีวิตที่สัมผัสกล้วยไม้เป็นครั้งแรก ลูกชายคนโต เกิดที่แม่โจ้ ลูกคนโตถึงกำหนดเกิด […]

DETAIL
Page 5 of 23« First...34567...1020...Last »
[สถาบันอาศรมศิลป์] : เลขที่ ๓๙๙   ซอยอนามัยงามเจริญ ๒๕  แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ๑๐๑๕๐
โทรศัพท์. ๐๒-๔๕๙-๓๒๒๖-๗, ๐๒-๘๖๗-๐๙๐๓-๔ โทรสาร. ต่อ ๑๓๙ E-Mail : [email protected]
[ศ.ระพี สาคริก]
บ้านเลขที่ 6 ถ.พหลโยธิน ซอย41 ลาดยาว จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 Tel:025791028 email : [email protected]
[Professor. Rapee Sagarik] 6 Paholyothin Rd. Soi 41 Ladyao, Jatujak, Bangkok 10900 , Thailand
TOP