กล้วยไม้

ธุรกิจต่างชาติกับการเป็นเจ้าของกล้วยไม้ไทย

เรียน คุณรุจิระ  บุนนาค (คอลัมน์กฎกติกาธุรกิจ หนังสือพิมพ์แนวหน้า)   ผมได้รับข้อเขียนของคุณเรียบร้อยแล้วด้วยความขอบคุณอย่างยิ่ง  ขณะนี้ผมบอกกับหลายคนแล้วว่าตัวเองไม่ได้ทำเรื่องกล้วยไม้  แต่ทำเรื่องที่มันลึกซึ้งกว่ามาก เรื่องธุรกิจต่างชาติกับการเป็นเจ้าของกล้วยไม้ไทย  ผมไม่ได้ห่วงมากไปกว่าความเป็นเจ้าของแผ่นดินไทย ซึ่งขณะนี้มีคนต่างชาติเข้ามาถือครองเต็มไปหมด เวลานี้ผมมีอายุ 90 ปีแล้ว เมื่อหวนกลับไปนึกถึงช่วงปี พ.ศ. 2470 ซึ่งตัวผมเองมีอายุได้เพียง 5 ขวบ ผมได้เห็นคนต่างชาติเดินอยู่บนแผ่นดินไทยเพียง 2 คน เราเป็นเด็กก็วิ่งตามดูว่าเป็นคนประหลาด แถมหูยังได้ยินเสียง “ฟุดฟิดฟอไฟ”อีกด้วย ผมคิดว่าคำว่า “ฟุดฟิดฟอไฟ”มันมาจากตรงนี้เอง ขณะนี้เราเก็บภาษีจากชาวนาชาวไร่มาบริหารประเทศ โดยจ้างเจ้าหน้าที่ส่งเสริมเกษตรมาทำงาน ซึ่งแต่ก่อนความรู้ที่ได้รับจากการลงทุนทำวิจัยเกษตรมันเข้าไปสู่ชาวนาชาวไร่ แต่เดี๋ยวนี้เงินภาษีที่เก็บจากราษฎรโดยเฉพาะชาวนาชาวไร่ มันไม่ได้กลับไปสร้างประโยชน์ให้ชาวนาชาวไร่เช่นแต่ก่อน แทบทุกเที่ยวบิน แม้กระทั่งรถไฟ เราก็ได้เห็นคนต่างชาติขึ้นไปครองที่นั่ง ส่วนคนไทยนั้นยังนั่งอยู่ที่พื้น เช่นนี้แล้วเราไม่ตื่นลุกขึ้นมาคิดกันบ้าง เราจะเป็นคนไทยไปทำไมกัน หรือว่าเราจะกลายเป็นม้าอารีตามนิทานอิสป ที่อุตส่าห์สละคอกม้าให้วัวมันเข้าไปเบียดอาศัยเมื่อฝนตก นี่แหละที่มันยิ่งไปกว่าเรื่องกล้วยไม้ ผมเคยไปประชุมที่กระทรวงเกษตรฯ มีข้าราชการคนหนึ่งลุกขึ้นมาโต้เถียงว่า “ไหนล่ะหลักฐาน” ผมตอบไปว่าอย่างไร รู้ไหมครับ  ผมตอบไปว่า “หลักฐานที่เป็นของจริงนั้น มันไม่ได้อยู่ที่แผ่นกระดาษกับตัวหนังสือ หากอยู่ที่การปฏิบัติในชีวิตจริง คุณลองไปกับผมบ้างไหมครับ!ลองไปใช้ชีวิตอยู่กับชาวนาชาวไร่ตาดำๆ ว่าแผ่นดินไทยเดี๋ยวนี้ มันกลายเป็นของคนต่างชาติไปกี่สิบล้านไร่แล้ว” […]

DETAIL

ฟ้ามุ่ย (Vanda coerulea) กล้วยไม้ที่มีความงามระดับโลก

บัดนี้ เมืองไทยโดยภาพพจน์ ได้กลายเป็นเมืองกล้วยไม้ระดับโลกไปแล้วแต่มันจะเป็นไปได้สักกี่น้ำ เพราะความคิดในการสร้างสรรค์สังคมนั้น มันขึ้นอยู่กับฉันคนเดียว ส่วนคนอื่นต่างก็มีแต่ความเห็นแก่ตัวเป็นส่วนใหญ่ ฉันต้องกราบขออภัยที่พูดความจริง ในเมื่อตัวเองพูดอยู่เสมอว่า ทุกสิ่งทุกอย่างควรมองให้เห็นด้านดี แต่ในทางปฏิบัติมันก็ยากยิ่งกว่ายาก เพราะจะหาคนสู้ให้ถึงความจริงนั้นมันก็ยากแสนยากด้วย เมื่อปี พ.ศ.2490ในช่วงนั้นสงครามโลกพึ่งเสร็จได้ปีกว่าๆ ส่วนตัวฉันเองก็พึ่งจบหลักสูตรปริญญาตรี 5ปี จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาใหม่ๆ ในอดีตนั้น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไม่เคยมีครูบาอาจารย์จากภายนอก คงอาศัยบุคลากรภายในกระทรวงเกษตรมาช่วยกันสอนเป็นประจำ ฉันจบหลักสูตร 5ปี จากมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ซึ่งปีนั้นมีคนจบสาขาเกษตรเพียง 2คนเท่านั้น และ 1ใน 2ก็คือตัวฉัน ส่วนผู้บริหารมหาวิทยาลัยก็อยากได้ตัวฉันเอาไว้เป็นครูอาจารย์ จึงเตรียมอัตราเอาไว้ให้อย่างเรียบร้อย แต่นิสัยของฉันมันก็เหมือนคนบ้า ยิ่งใครอยากได้ฉันก็ยิ่งไม่เอา หากภายในจิตใต้สำนึกกลับรู้สึกท้าทายที่จะออกไปเผชิญกับปัญหาในชนบท แม้คนเดียวก็ยอม เพราะทุกสิ่งทุกอย่างฉันไม่อยากรับคำสอนจากคนอื่น แต่ต้องการพึ่งพาตนเอง แม้กระทั่งการศึกษาก็ไม่อยากได้ครูที่ไม่ใช่ตัวเอง นี่แหละ หลังจากออกไปอยู่ในบริเวณท้องถิ่นซึ่งเรียกกันว่า “ห้วยแม่โจ้” เพราะที่นั่นมีแต่น้ำในลำห้วย แต่ไฟฟ้าก็ไม่มีใช้ น้ำประปาก็ไม่มี หากเป็นเพราะฉันรู้เท่าทันว่า สิ่งเหล่านั้นล้วนเป็นสิ่งสมมติทั้งสิ้น สิ่งที่ฉันสัมผัสมาตั้งแต่ยังเป็นเด็กนั้นก็คือ คนในกลุ่มที่เรียกกันว่า “เจ้าขุนมูลนาย” ซึ่งเอากล้วยไม้มาเล่น แถมยังคิดดูถูกเด็ก รวมทั้งคนบ้านนอก ครั้นมาอยู่ในสภาพที่อิสระในปี พ.ศ.2490นอกจากทำงานให้กับทางการอย่างเต็มที่แล้ว ฉันก็อดไม่ได้ที่จะนำเอากล้วยไม้มาเป็นเครื่องมือ เพื่อคิดแก้ไขปัญหาสังคมอย่างที่ตนเคยเห็นมาในอดีต เรื่องนี้ฟังดูแล้วมันเหมือนคิดการใหญ่ […]

DETAIL

ฤากล้วยไม้จะใกล้ม้วย เพราะแม่คงคาพิโรธ

หวนกลับไปนึกถึงช่วงปี พ.ศ.2472ซึ่งขณะนั้นฉันมีอายุเพียง 7ขวบ ฉันได้เห็นคนกลุ่มหนึ่งเอากล้วยไม้มาเป็นของเล่น แถมยังดูถูกเด็กและชาวบ้านว่ามือเอื้อมไม่ถึง นี่แหละที่มันปลุกจิตวิญญาณของฉันให้ลุกขึ้นมาสู้กับความอยุติธรรมตั้งแต่บัดนั้น ธรรมชาติของมนุษย์นั้น เมื่อสิ่งนี้เป็นยังไงสิ่งอื่นมันก็เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นชีวิตที่ผ่านพ้นมา เมื่อเห็นอะไรที่มันไม่ชอบธรรมฉันจะลุกขึ้นมาต่อสู้บนพื้นฐานศิลปะที่อยู่ในวิญญาณตนเองอย่างเต็มที่ แต่เพราะมีศิลปะนี่แหละ ที่ฉันไม่คิดทำร้ายคนอื่น คงมีแต่การอ่อนน้อมถ่อมตนจนเป็นนิสัย ส่วนในรากฐานจิตใจนั้นคงมีความเข้มแข็งอดทนมาตลอด อนึ่ง การที่ฉันเริ่มต้นจับงานกล้วยไม้ ทั้งๆ ที่สังคมไทยไม่เห็นด้วย เพราะคิดว่าเป็นเรื่องไร้สาระและเป็นขอเศรษฐีที่เอากล้วยไม้มาดูถูกคนอื่น ฉันกลับนำเอาชีวิตคนตะวันออกมาพิจารณาร่วมกับชีวิตคนตะวันตกซึ่งแตกต่างกันเช่นเดียวกันกับ เครื่องตาช่าง ซึ่งมีการเคลื่อนไหวสู่ด้านตรงกันข้าง ฉันรู้สึกว่าคนตะวันตกนั้น พอถึงเวลา 9โมงเช้าเขาจึงเริ่มทำงาน พอถึงเวลา 4โมงเย็นก็จะเลิกงาน ถ้าใครมีปัญหามารบกวนก็มักอ้างว่า เป็นเวลาส่วนตัว อนึ่ง ฉันเป็นห่วงเศรษฐกิจของบ้านเมืองมาตั้งแต่เล็ก และคิดว่าชีวิตคนตะวันออกไม่ควรเรียนแบบตะวันตก ดังนั้นเมื่อมีเวลาว่างก็จะต้องทำงานให้นักยิ่งกว่าเก่า เพื่อยกระดับเศรษฐกิจให้สูงยิ่งขึ้นโดยไม่ต้องลงทุนเรื่องเงินๆ ทองๆ นอกจากความคิดและสติปัญญา นี่แหละ เมื่อฉันมีอายุยังไม่ถึง 30ปี ขณะนั้นแม้รายได้ส่วนตัวจะมีน้อย การศึกษาค้นคว้าเรื่องกล้วยไม้ กระทั่งการสร้างโรงเรือนก็เก็บเศษไม้มาทำ อีกทั้งเมื่อได้ความรู้แล้วฉันก็สู้ใช้เวลาเย็นๆ ค่ำๆ เดินทางมาเปิดสอนให้คนเรียนรู้ความจริงเรื่องกล้วยไม้ พอดีกันกับคนทั่วไปเริ่มศรัทธาในอุดมการณ์ที่ฉันสะท้อนออกมาปรากฏ ซึ่งทำให้เขาเหล่านั้นให้ความร่วมมืออย่างกว้างขวางโดยเริ่มต้นจากการให้ยืมห้องประชุมโดยไม่คิดเงินแม้แต่น้อย ซึ่งในช่วงนั้นตัวฉันเองก็ยังรู้แบบงูๆ ปลาๆ ถามใครก็ไม่ยอมบอก ฉันสู้ศึกษาค้นคว้าอยู่ในบ้านส่วนตัว แม้เครื่องมือเครื่องใช้ก็เก็บมาจากพื้นดิน เอามาประดิษฐ์คิดค้นให้มันใช้ได้ ส่วนอีกด้านหนึ่งนั้น ฉันก็พบว่าคนอื่นเขาหวงวิชา […]

DETAIL

หอมกลิ่นกล้วยไม้ : ประวัติชีวิตของระพี สาคริก

วิหกเอ๋ย     เจ้าจะเลย   ท่องเที่ยวบิน  ไปถิ่นไหน วิหกไพร   ต้องหากิน  ถิ่นแถวป่า  พนาวัน เจ้าทิ้งถิ่น เที่ยวบินร่อน พักผ่อนกาย มาหลายวัน ท้องลำธาร ละหารใส ช่างเหงาใจ ไร้คู่เคียง เพียงแต่เจ้า เศร้าในใจ ใครไม่รู้ เป็นคู่คู่ ดูนกอื่น ช่างขื่นขม มองดูแล้ว  ดูเหมือนเจ้า  เฝ้าตรอมตรม คงระทม เหมือนตัวเรา เศร้าไม่วาย อกเราเอ๋ย ช่างไม่เคย สุขหัวใจ ให้รู้หาย รักกลับกลาย  ดั่งสายชล ที่วนเปลี่ยน ทุกเวลา ช่างหว้าเหว่  ด้วยเร่ร่อน  ร้อนรุมกาย  หลายเวลา รักร้างลา  ไม่มาหลัง  ช่างเหงาใจ  ไร้คู่เคียง ร้อยกรองบทนี้ เพื่อนรักคนหนึ่งของฉันที่ชื่อ“ระดม เศรษฐีธร”ร่วมกับตัวฉันเอง ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นช่วงปิดภาคการศึกษาภาคปลายของแม่โจ้รวม 3 เดือน ทำให้ที่นั้นไม่มีชีวิตคนจะอยู่แม้แต่หมาตัวเดียว   ถ้าอยู่มันก็ต้องอดตาย  […]

DETAIL

กล้วยไม้ ศัตรูของมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์จริงหรือเปล่า

ในอดีตเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงปีพ.ศ. 2470 หลายฝ่ายมองเห็นว่ากล้วยไม้คือศัตรูของเศรษฐกิจไทย ทั้งนี้เพราะคนเหล่านั้นไม่ได้มองเห็นคน คงถูกบดบังจากกิเลสตัวเองที่มองเห็นว่ากล้วยไม้เป็นพืชทำลายเศรษฐกิจของชาติ จนกระทั่งตัวฉันซึ่งมีวิญญาณการต่อสู้กับใจตนเองอย่างเข้มแข็งมาตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็กๆ คนหนึ่ง ทั้งนี้ก็เพื่อพิสูจน์ว่าสิ่งซึ่งทำลายเศรษฐกิจนั้นมันไม่ใช่กล้วยไม้ หากเกิดจากกิเลสที่มันอยู่ในใจมนุษย์ผู้มองมากกว่า ตัวฉันเองจึงลุกขึ้นมายืนหยัดต่อสู้อย่างผู้ทระนงองอาจ ไม่เพียงเท่านั้น หลังจากที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เริ่มต้นยอมรับกระทั่งขอตัวฉันให้มาทำงานอยู่ในภาควิชาพืชกรรม (ชื่อในอดีตตั้งแต่ปีพ.ศ. 2514) ในที่สุดตัวฉันเองก็ต้องมาพบกับความจริงอีกว่า แม้มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ที่เข้ามาตั้งสำนักงานท้องถิ่นอยู่ในกรุงเทพฯ เพื่อให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสองสาขา คือแพทย์ศาสตร์และเกษตรศาสตร์ โดยเฉพาะในด้านเกษตรศาสตร์ได้เน้นความสำคัญโดยถือว่าพืชไร่ดังเช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง รวมทั้งถั่วต่างๆ เป็นเป้าหมาย ซึ่งชั้นแรกก็ได้มาตั้งอยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยมหิดล ครั้นถัดจากนั้นมาอีกไม่กี่ปีก็เปลี่ยนสถานที่ตั้งใหม่เพื่อเข้ามาอยู่ในบริเวณวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่บางเขน แถมยังประกาศตัวและใจเป็นศัตรูกับกล้วยไม้โดยนำเอามาเปรียบเทียบเปรียบเปรยเสมือนเป็นวัชพืชที่มีชื่อว่า “แดนดี้ ไลอ่อน” ทั้งนี้เพราะเหตุว่าในสหรัฐอเมริกาวัชพืชชนิดนี้ลงได้ไปขึ้นระบาดอยู่ในเรือกสวนไร่นาของคนอเมริกันแล้วก็จำเป็นต้องต่อสู้กับมันโดยลงมือปราบปรามอย่างหนัก “นี่แหละชีวิตฉันไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหน จึงมักโชคดีเป็นส่วนใหญ่” ที่ฉันกล่าวว่า “โชคดี”นั้น หลายคนอาจสงสัยว่า เหตุใดฉันจึงพูดว่าตัวเองมีโชคดี ทั้งๆ ที่เข้าไปอยู่ที่ไหนก็มักมีแนวโน้มพบกับศัตรูมาตลอด ฉันจะบอกให้ก็ได้ว่า เพราะศัตรูประเภทนี้ได้ช่วยให้ตัวเองเรียนรู้ธรรมะอย่างเป็นธรรมชาติ หลายคนอาจรู้สึกสงสัยต่อมาอีกว่า มันเป็นเพราะเหตุใดฉันจึงได้พูดออกมาแบบนี้ เธอไม่รู้หรอกหรือว่า ศัตรูที่มันสอนให้เรารู้สึกต่อสู้กับกิเลสที่มันอยู่ในใจตนเองนั้น ย่อมช่วยชำระล้างอคติภายในใจ เมื่อชำระล้างได้ก็ย่อมมองเห็นธรรมชาติที่แท้จริงภายในใจตนเองได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ต่อไปนี้ ฉันจะเล่าเรื่องราวระหว่างตนกับมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ให้เธอรับทราบจากความรู้สึกที่น่าสนุกสนานหรือไม่ก็อาจทำให้เธอต้องคิดหนักเพิ่มมากยิ่งขึ้นก็เป็นได้ …………………………………………………………………………….. ความจริงแล้ว ตัวฉันเองเป็นคนที่มีรากฐานจิตใจอิสระในระดับหนึ่งมาตั้งแต่ยังเป็นเด็กซึ่งประเด็นนี้ได้ช่วยให้ฉันเป็นคนที่มีนิสัยไม่เกรงกลัวต่ออำนาจใดๆ จากภายนอกทั้งนั้น “เมื่อไม่เกรงกลัวอำนาจจากภายนอกก็ย่อมมองเห็นความสำคัญของอำนาจที่มันแฝงอยู่ในจิตใจตนเอง” ดังนั้นไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นฉันมักมีแนวโน้มเอาชนะใจตนเองด้วยความอดทนเข้มแข็งมาตลอด แม้แต่การเริ่มต้นจับงานเรื่องกล้วยไม้ ซึ่งแท้จริงแล้วหากจะพูกว่าฉันต่อสู้กับอิทธิพลภายนอก […]

DETAIL

คุณธรรมกับการอนุรักษ์กล้วยไม้ป่า

แนวความคิดและคุณธรรมที่นำเสนอเพื่อการพิจารณาปฏิบัติลักษณะนี้ นอกจากกล้วยไม้ป่าแล้ว หากต้องการอนุรักษ์สิ่งใดก็ตาม น่าจะช่วยให้เตือนสติและมีผลทำให้ประสบผลสำเร็จอันพึงปรารถนาได้ทุกเรื่อง มนุษย์ซึ่งดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันบนผิวพื้นโลกใบนี้ ถ้าใช้คุณธรรมนำปฏิบัติระหว่างกันและกัน เพื่อรักษาสมดุลระหว่างชีวิตที่ด้อยโอกาสกว่ากับฝ่ายที่เหนือกว่า บรรยากาศภายในโลกใบนี้ย่อมนำไปสู่ความสุขยิ่งกว่าเก่า อนึ่ง ฉันกล้ายืนยันหลักการที่จะกล่าวต่อไป เพราะตัวเองได้นำปฏิบัติโดยถือหลักเกณฑ์อันเป็นที่มาตลอดชีวิตอันยาวนาน จึงทำให้เชื่อมั่นได้อย่างปราศจากข้อกังขาใดๆทั้งสิ้น จากความจริงระหว่างคุณธรรมกับการอนุรักษ์กล้วยไม้ป่า ยิ่งการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ที่มีความแตกต่างกัน ปกติมนุษย์กับมนุษย์ซึ่งดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันบนผิวพื้นโลกใบนี้ ทุกคนต่างก็ต้องการความสงบสุขด้วยกันทั้งนั้น แท้จริงแล้ว ความสุขที่อยู่บนพื้นฐานความจริง หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึงความสุขซึ่งอยู่บนพื้นฐานความยั่งยืน การนำปฏิบัติต่อกันควรให้ความสำคัญแก่กันและกันโดยไม่คิดทำร้ายซึ่งกันและกันหากให้โอกาสในการเรียนรู้ระหว่างกันเป็นพื้นฐาน โดยเฉพาะในยุคนี้ มนุษย์ฝ่ายที่มีอำนาจเหนือกว่า มักนำเอาการอนุรักษ์มาอ้างเพื่อใช้โอกาสบังคับฝ่ายที่ด้อยโอกาสกว่าตน โดยเฉพาะประเทศในแถบร้อนของโลก เพื่อหวังผลประโยชน์ทางวัตถุ โดยที่คิดว่าคนอื่นจะไม่รู้เท่าทัน ดังนั้น ประเทศที่อยู่ในแถบเส้นศูนย์สูตรของโลกซึ่งมีทรัพยากรธรรมชาติอย่างหลากหลายภายในวิถีชีวิตของประชากรในประเทศนั้น ซึ่งส่วนใหญ่ตกอยู่ในสภาพที่ยากไร้ แม้เพียรพยายามคิดแก้ไขปัญหาก็ยิ่งทำให้เกิดปัญหาหนักมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะเหตุว่า การใช้อำนาจแก้ไขปัญหาที่อ้างว่าต้องการอนุรักษ์ยังคงตกอยู่ในสภาพจากด้านบนลงมาสู่ด้านล่างเช่นเดียวกันกับทฤษฎีโดมิโน ความจริงแล้วถ้าใช้คุณธรรมและจริยธรรมเพื่อนำปฏิบัติจากความจริงที่อยู่ในใจตนเองโดยไม่ลืมไปว่า ธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนที่เกิดมาสู่โลกใบนี้ แต่ละคนล้วนมีความรักอยู่ในรากฐานจิตวิญญาณตนเอง นอกจากนั้น การนำปฏิบัติระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ แม้มนุษย์กับต้นไม้ ล้วนมีหน้าที่พึ่งพาอาศัยระหว่างกันและกัน หากทุกชีวิตรวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีทิศทางการเปลี่ยนแปลงที่หมุนวนเป็นวัฏจักรตามหลักธรรมชาติ ถ้ามีโอกาสดำรงชีวิตอยู่อย่างอิสระ ย่อมส่งผลช่วยให้มอบวิญญาณความรักให้แก่กันและกัน แม้มนุษย์กับกล้วยไม้ ถ้ามนุษย์ดำรงชีวิตอยู่อย่างอิสระ ย่อมได้รับประโยชน์จากกล้วยไม้ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย ด้านหนึ่งหมายถึงการได้รับประโยชน์ทางวัตถุ ส่วนอีกด้านหนึ่งย่อมช่วยทำหน้าที่อนุรักษ์พรรณไม้ซึ่งตนได้รับประโยชน์ทางวัตถุเอาไว้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในระยะยาว จึงไม่ทำให้พรรณไม้ที่ต้องการอนุรักษ์จำต้องประสบกับสภาวะสูญเสีย จึงสรุปได้ว่า การใช้อำนาจบังคับฝ่ายหนึ่งจากอีกด้านหนึ่งโดยอ้างว่าต้องการอนุรักษ์ ถ้าเป็นผู้ที่มีความฉลาดอีกทั้งเฉลียวใจ ก็น่าจะหยั่งรู้ความจริงได้ว่า คือการกีดกันผลประโยชน์จากฝ่ายหนึ่งซึ่งมีโอกาสอยู่เหนือกว่า […]

DETAIL
[สถาบันอาศรมศิลป์] : เลขที่ ๓๙๙   ซอยอนามัยงามเจริญ ๒๕  แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ๑๐๑๕๐
โทรศัพท์. ๐๒-๔๕๙-๓๒๒๖-๗, ๐๒-๘๖๗-๐๙๐๓-๔ โทรสาร. ต่อ ๑๓๙ E-Mail : [email protected]
[ศ.ระพี สาคริก]
บ้านเลขที่ 6 ถ.พหลโยธิน ซอย41 ลาดยาว จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 Tel:025791028 email : [email protected]
[Professor. Rapee Sagarik] 6 Paholyothin Rd. Soi 41 Ladyao, Jatujak, Bangkok 10900 , Thailand
TOP